สมเด็จพระครูสังฆ์ วัดอินทร์ พิมพ์ 3 ชั้นหูบายศรี ด้านหลังยันต์ห้า ปี 2485 #11498 (ขายแล้ว)

ปิดบูชาแล้ว



โทรสอบถามราคา


ร้าน : เปียโนพระเครื่อง

โทร : 0894255525

Line :

Email :khunwat2002@hotmail.com

วันที่ : 2021-11-06

จำนวนผู้ชม : 9253








Share With Friends:

สมเด็จพระครูสังฆ์ วัดอินทร์ พิมพ์ 3 ชั้นหูบายศรี ด้านหลังยันต์ห้า ปี 2485 ขนาดพระ 2.2 x 3.4 ซม.หายาก สภาพพอสวย พระครูสังฆรักษ์ฯ (เงิน) วัดอินทราราม กรุงเทพมหานคร ผู้สร้างพระผงนิยมถัดต่อจาก หลวงปู่ภู พระหลายพิมพ์ท่าน นำเอาแม่พิมพ์เก่าของหลวงปู่ภูมาสร้าง แต่อีกหลายพิมพ์ท่าน ให้ช่างแกะขึ้นใหม่พระของท่านมีทั้งที่ด้านหลังปั้มตราและไม่ปั๊มตราที่ปั๊ม ตราจะเป็น รูปดอกจันทร์ และยันต์ห้า เหตุที่เรียก "พระครูสังฆ์" เพราะ เป็นสมณศักดิ์เดิมของท่านขณะ ที่ท่านสร้างพระสมณศักดิ์ขณะนั้นคือ พระครูสังฆรักษ์ (เงิน อินทสโร) ภายหลัง ท่าน เจริญสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณพระอินทรสมาจาร พระผงยุคแรกสร้างของพระครูสังฆ์ ที่มีเนื้อหาจัดและไม่ได้ปั๊มตราจะถูกตีเป็น พระหลวงปู่ภูหรือมิฉะนั้น พระที่มีหลังปั๊มตราจะถูกฝนหลังออกเพื่อเล่นเป็นพระหลวงปู่ภูเช่นเดียวกัน นับเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพระ ของพระครูสังฆ์โดยแท้พระครูสังฆ์ มาจากวัดปรินายก แต่เจริญสมณศักดิ์ที่วัดอินทรวิหาร เป็นศิษย์ของหลวงปู่ภู รูปหนึ่ง พระของท่านน่าใช้มากครับ รวมมวลสาร สมเด็จโต และ หลวงปู่ภู ไว้ด้วย จากประวัติที่วัด ได้ผสมชิ้นส่วนแตกหักของสมเด็จบางขุนพรหม มากที่สุดมากกว่า พระสมเด็จบางขุนพรหม ปี 2509 เสียอีก จึงน่าจะใช้แทน พระสมเด็จบางขุนพรหมที่มีสนนราคาสูงมากได้ พระครูสังฆ์ วัดอินทร์ฯ เป็นพระที่มีส่วนผสมของ พระพิมพ์สมเด็จโต แห่งวัดระฆังมากที่สุด ต้องยกให้พระพิมพ์สมเด็จพระครูสังฆ์ วัดอินทร์ รุ่นแรก ที่แจกเมื่อปี 2485 จะหาพระรุ่นอื่นมาเทียบไม่ได้เลย พระพิมพ์สมเด็จที่ท่านเจ้าคุณพระอินสมาจาร (เงิน อินทสโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทร์ ได้สร้างขึ้นก่อนปี พศ.2485 แล้วเริ่มนำมาแจกในปี 2485 เป็นพระรุ่นแรก ที่ท่านได้สร้างขึ้นตอนที่มีสมณะศักดิ์เป็น พระครูสังฆรักษ์ คนทั่วไปจึงนิยมเรียกชื่อพระรุ่นนี้ว่า ((พระสมเด็จ พระครูสังฆ์)) พระพิมพ์สมเด็จรุ่นนี้แหละที่ใส่ผงเก่าของสมเด็จโต ลงไปมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ไม่ใช่นิดหน่อยหรือเล็กน้อย ใส่กันหลายบุ้งกี๋ ทีเดียว แล้วไปเอามาจากไหน พระครูสังฆ์ ท่านย้ายมาเป็นเจ้าอาวาส วัดอินทร์แทนหลวงปู่ภู เมื่อปี พศ.2467 ได้เริ่มงานก่อสร้างองค์หลวงพ่อโตยืนที่ค้างคาอยู่ สำรวจพบว่ามี พระสมเด็จกองอยู่ข้างบนมากมาย ในลักษณะที่เตรียมจะบรรจุในองค์หลวงพ่อโต นี้เข้าใจกันว่าสมเด็จโต ท่านสร้างพระเหล่านี้ไว้เตรียมที่จะบรรจุแต่ท่านก็มรณะเสียก่อน และเรื่องที่น่าจะเป็นไปได้ว่าตอนสร้างสมเด็จบางขุนพรหม ต้องมีพระชำรุดอยู่เป็นอันมาก ที่เหลือไม่ได้บรรจุเข้าเจดีย์ที่วัดใหม่อมตรส ส่วนหนึ่งและ สันนิษฐานเลยออกไปอีกนิดก่อนที่จะนำพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ปลุกเสกแล้วบรรจุ เข้าเจดีย์เสมียนตราด้วงบูรณะ มีการแบ่งพระสมเด็จบางขุนพรหม ส่วนหนึ่งนำขึ้นไปกองบนองค์หลวงพ่อโต เพื่อเตรียมการบรรจุกรุด้วย ตามประวัติพระครูสังฆ์ท่านพบใน ปี พศ. 2467 และได้ให้ช่างชาวจีน ที่เป็นแรงงานในการก่อสร้างขนย้ายเอาลงมา ซึ่งส่วนมากเป็นพระแตกหักชำรุด พระครูสังฆ์ท่านจึงได้ นำพระสมเด็จที่พบบนองค์หลวงพ่อโต มาบดให้ละเอียดแล้ว เติมปูนขาวกับดินสอพอง และน้ำมันตังอิ้ว ลงไปผสมแล้วกดพิมพ์พระออกมาในรูปของพระใหม่ โดยใช้แม่พิมพ์จากพระหลวงปู่ภู บ้างแกะพิมพ์ขึ้นมาใหม่บ้าง เมื่อสร้างครบ 84,000 องค์ แล้วจึงได้ทำพิธีปลุกเสก โดยนิมนต์ พระเกจิคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงคุณวุฒิทางด้านวิทยาคม ในยุคนั้นมาร่วมปลุกเสก และได้นำพระมาแจกสมนาคุณแก่ผู้ที่บริจาคทรัพย์ สมทบทุนก่อสร้างองค์หลวงพ่อโต ในราคาองค์ละ 1 บาท เนื่องจากเป็นพระที่ใส่ผงเก่ามากเพราะใช้พระสมเด็จที่แตกหักชำรุดจำนวนมาก มาโขลก ตำป่นให้ละเอียดแล้วกดพิมพ์ขึ้นมาใหม่ จำนวนพระที่สร้างไม่มาก แต่ผงเก่าจำนวนมากมาย ดังนั้นเนื้อพระรุ่นนี้จึงมองดูแก่ผงพระสมเด็จหากให้แว่นขยายส่องดูให้ดีจะ เห็นชิ้นส่วนของพระสมเด็จ ชินเล็กชิ้นน้อยปรากฏอยู่ในเนื้อพระมากมาย พระพิมพ์สมเด็จพระครูสังฆ์ ส่วนใหญ่สีขาวอมเหลือง ผิวเหนอะเป็นคลื่นของคราบน้ำปูนที่ลอยหน้า มีความหนืดและนุ่มคล้ายพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่า

 

การจัดส่ง & รับประกัน

  • จัดส่งภายใน 1-3 วัน
  • ค่าจัดส่งตามตกลง
  • คืนสินค้าภายใน 7 วัน

ข้อมูล:

 

เปียโนพระเครื่อง

  • ซื่อตรง บริการดี ราคาเป็นกันเอง

 

ขนาด: การเก็บรักษา:

  • ควรเก็บในที่แห้ง เก็บในที่จัดวาง เพราะพระมีขนาดเล็กอาจสูญหายได้
พระแท้ ดอทคอม
   

ยังไม่มี ร่วมแสดงควมคิดเห็น

สินค้าใกล้เคียง

เหรียญ หลวงพ่อแช่ม Show มาใหม่
หลวงพ่อเงิน Delete มาใหม่
หลวงพ่อเงิน

2016-05-17 15:47:41

โทรสอบถาม ครูบ้านนอก
พระนเรศวรฯ Delete มาใหม่
พระนเรศวรฯ

2016-10-21 16:43:13

โทรสอบถาม ครูบ้านนอก